วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ประเพณีกวนอาซูรอ

 ประเพณีกวนอาซูรอ


รูปภาพ :อาซูรอ

         การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า "อาซูรอ” เป็นภาษาอาหรับ หมายถึงวันที่ ๑๐ ของเดือนมูฮรอม อันเป็นเดือนแรกของปฏิทินอาหรับ ซึ่งเป็นเดือนทางศักราชอิสลาม มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับ แปลว่า การผสมหรือรวมกัน หมายถึง คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมารวมกัน มีทั้งชนิดคาวและชนิดหวาน การกวนอาซูรอมิได้เป็นพิธีกรรมหรือศาสนกิจที่บังคับให้ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามต้องปฏิบัติ แต่เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติเพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

        การกวนอาซูรอ หรือประเพณีทำบุญอาซูเราะ จัดให้มีในวันที่ ๙-๑๐ ของเดือนมุหัรร็อม (เป็นเดือนที่ ๑ ตามปฏิทินอิสลาม) จะนิยมให้มีขึ้นในฤดูกาลที่ว่างเว้นจากการทำนา ทำไร่ เป็นวันทำบุญร่วมกันทั้งหมู่บ้าน โดยจะไปทำกันที่มัสยิด เป็นกิจกรรมที่ทำขึ้นเพื่อแสดงออกถึงความศรัทธาของมุสลิมที่มีต่อพระเจ้า ปรุงอาหารที่มีของสดและของแห้งมารวมกัน อาจเป็นพวกเผือก มัน ฟักทอง กล้วย หรือข้าวโพดก็ได้ สิ่งสำคัญคือต้องเป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อาหารชนิดใหม่นี้เรียกว่า "ฮาราล” เป็นอาหารที่ศาสดาอนุมัติให้รับประทานได้ เมื่อปรุงเสร็จแล้วจึงนำมาแจกจ่ายให้ทุกคนรับประทาน ประเพณีนี้ได้ให้คุณค่าทางด้านการระลึกถึงคุณงามความดีของท่านนบีนุห์ คุณค่าทางด้านความสามัคคี และคุณค่าทางด้านการรักษาประเพณีอันดีงามทางศาสนาเอาไว้


    พิธีกรรมอาซูรอ
การกวนข้าวอาซูรอ เริ่มด้วยการที่เจ้าภาพประกาศเชิญชวนนัดหมายให้ชาวบ้านทราบว่า จะมีการกวนข้าวอาซูรอกันที่ไหน เมื่อใด เมื่อถึงกำหนดนัดหมาย ชาวบ้านก็จะนำอาหารดิบ เช่น เผือกมัน ฟักทอง มะละกอ กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เป็นต้น มารวมเข้าด้วยกันแล้วปอกหั่น ตัดให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นนำเครื่องปรุง เช่น ข่า ตะไคร้ หอม กระเทียม ผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ เป็นต้น มาเป็นเครื่องผสม โดยหั่นตัดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่นเดียวกัน สำหรับกะทิจะคั้นเฉพาะนำมาผสม ก่อนจะแจกจ่ายอาซูรอให้รับประทานกัน มีพิธีกรรมเชิญบุคคลที่นับถือของขุมชน เช่น อิหม่าม โต๊ะครูหรือบุคคลที่ได้ศึกษาด้านศาสนาขั้นสูงสุดของชุมชน ขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน แล้วจึงแจกจ่ายให้คนทั่วไปรับประทานกัน

    วิธีกวนอาซูรอ
๑. นำเมล็ดธัญพืชทั้งหมดมาแช่ไว้ ๑ คืน
๒. ตอนเช้านำธัญพืชที่แช่ไว้มาปั่นให้ละเอียด
๓. หั่นวัตถุดิบทั้งหมดให้เป็นชิ้นเล็กๆ
๔. นำกระทะใบใหญ่ตั้งไฟ มีไม้พายสำหรับกวนขนม หลังจากตั้งกระทะบนเตาแล้วก็คั้นน้ำกะทิและ ใส่น้ำกะทิลงไปตั้งไฟ
๕. ใส่ข้าวสารทั้งหมด พอข้าวสารแตกละเอียดก็ใส่วัตถุดิบที่หั่นเตรียมเอาไว้ลงไปต้มในกระทะและรอจนทุกอย่างเปื่อยละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน ประมาณ ๒-๓ ชั่วโมง ทุกอย่างจะสุกเป็นเนื้อเดียวกัน ระหว่างรอ จะกวนไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้อาซูรอติดกระทะและสุมไฟให้แรงอยู่ตลอดเวลา
๖. พอใกล้จะสุกก็ใส่น้ำตาลและละลายแป้งกับน้ำใส่ไปแล้วใส่พริกไทยกวนจนเหนียวแห้งประมาณ ๑ ชั่วโมงถึงจะเสร็จ
๗. พอเสร็จได้ที่แล้วก็นำมาเทใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อรอให้เย็น เมื่อเย็นแล้วนำมาตัดเป็นชิ้นพร้อมเสริฟต์

  ที่มาของข้อมู : ประเพณีกวนอาซูรอ

วันศุกร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันที่ 7 ตุลาคม 2564

ร่วมกันจัดทำเล่มรายงาน


       ทุกคนในทีมช่วยการทำงานในส่วนที่ได้แบ่งมาก่อนหน้านี้ ในหัวข้อที่ตนเองทำแล้วรู้สึกไม่เข้าใจก็สามารถแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแชร์ร่วมกันเพื่อที่จะได้เกิดการทำงานอย่างรวดเร็ว ซึ่งในครั้งนี้ได้เริ่มทำในบทที่ 4 ผลการศึกษา มีดังนี้ 1.ผลการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง 2 ผลการประเมินบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

        ส่วนบทที่ 5  บทที่ 5  สรุป และข้อเสนอแนะ จะมีดังนี้

1. เกริ่นนำ 2. ความสำคัญ 3. วัตถุประสงค์ 4. ขั้นตอนการศึกษาโครงงาน 5. สรุปผลการศึกษา 6. ประโยชน์ที่ได้รับจากโครงงาน 7. แนวทางการนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพครู และ 8. ข้อเสนอแนะ

 ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันที่ 30 กันยายน 2564

ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-lerning

        สมาชิกทุกคนร่วมกันทำงานใน Google Meet เพื่อที่จะได้ง่ายต่อการประสานงานว่ามีส่วนไหนที่ต้องเพิ่มหรือแก้ไข หลังจากที่ทุกคนช่วยกันทำงานในระหว่างนั้นก็ได้พูดคุยในส่วนของการเขียนโครงงานในบทที่ 4,5 และบรรณานุกรมและภาคผนวกเพื่อที่จะได้เกิดการทำงานรวดเร็วและเกิดการทำงานกันเป็นทีม

 

   ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันที่ 23 กันยายน 2564

ร่วมกันพัฒนาบทเรียน E-lerning


     สมาชิกในกลุ่มได้มีการทำงานร่วมกัน ผ่าน Google Meet  เพื่อเพิ่มเนื้อหาขของข้อมูลในส่วนต่าง ๆ ในระบบให้ครบสมบูรณ์อย่างที่ได้กำหนดไว้


  ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 13
วันที่ 16 กันยายน 2564
นำเสนอบทที่ 2 - 3





      ทั้งกลุ่ม1-6 ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานที่ได้ทำไว้โดยในเนื้อหา บทที่ 2-3 จะมีรายละเอียดดังนี้

           บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 

            -ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ออนไลน์ 

            -ระบบอีเลิร์นนิ่ง

            -ขั้นตอนการพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิ่ง

            -เนื้อหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ระบุหัวข้อ)

            -งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

    (เนิ้อหาบท2ขึ้นอยู่กับแต่ละกลุ่มว่าจะใส่อะไรเพื่อให้ตรงกับเรื่องที่ทำในโครงงาน) และ บทที่ 3 วิธีการศึกษา เป็นขั้นตอนการศึกษาของ ADDIE

        หลังจากที่ได้นำเสนอ อาจารย์ก็จะให้คำแนะนำในเรื่องของเนื้อหา การนำเสนอ และสไลด์ เพื่อที่แต่ละกลุ่มจะได้นำไปปรับปรุงครั้งต่อไป

ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันที่ 9 กันยายน 2564

ช่วยกันทำงาน


                เริ่มกันประชุมว่าจะจัดวางองค์ประกอบอย่างไร และช่วยกันใส่บทเรียนในบางส่วนและได้เริ่มใส่เนื้อหาบทที่ 2-3 ลงในสไลด์เพื่อที่จะได้นำเสนอในสัปดาห์ถัดไป

    ผลการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันที่ 2 กันยายน 2564

ช่วยกันทำงาน

  เนื่องด้วยสถานการณ์โควิดในปัจจุบันจึงทำให้พวกเราไม่สมารถไปทำงานด้วยกันได้ แต่ไม่มีผลอะไรเพราะเราสามารถร่วมกันทำงานแบบออนไลน์ได้   

      และในวันนี้ได้มีการร่วมกันทำงานผ่าน Google zoom ซึ่งทุกหัวข้อก็ได้จัดแบ่งไว้ก่อนหน้านี้แล้ว แต่ในวันนี้พวกเราทุกคนมาช่วยอ่านและแก้ไขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยจัดทำใน บทที่ 2  ทฤษฎีและเอกสารที่เกี่ยวข้อง และบทที่ 3  วิธีดำเนินการศึกษา

  

ประเพณีกวนอาซูรอ

 ประเพณีกวนอาซูรอ รูปภาพ : อาซูรอ             การกวนข้าวอาซูรอ (ขนมอาซูรอ) เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า &q...